วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Prompt Gamma Neutron Activation Analysis) PGNAA 01

การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวัดรังสีแกมมาพรอมต์จากการอาบนิวตรอน (Prompt Gamma Neutron Activation Analysis, PGNAA)

การวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอน (Neutron Activation Analysis) เป็นการทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างนิวตรอนกับนิวเคลียสของธาตุ ซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาได้หลายแบบขึ้นพลังงานของนิวตรอนและชนิดของธาตุ

ในกรณีที่เป็นนิวตรอนพลังงานต่ำหรือเทอร์มัลนิวตรอน ส่วนใหญ่จะเกิดปฏิกิริยาจับนิวตรอน (Neurton capture) โดยนิวตรอนจะรวมกับนิวเคลียสของธาตุกลายเป็นนิวเคลียสประกอบ (Compound nucleus) ที่มีระดับพลังงานสูงในช่วงเวลาสั้นๆ และจะปลดปล่อยพลังงานออกมาเกือบจะในทันทีในรูปของรังสีแกมมา เรียกว่า รังสีแกมมาพรอมต์ (Prompt gamma ray) และนิวเคลียสนั้นจะกลายเป็นนิวเคลียสกัมมันตรังสี (Radioactive nucleus) ที่มีการสลายตัวลดระดับพลังงานลงไปเป็นนิวเคลียสเสถียร โดยปลดปล่อยรังสีแกมมาดีเลย์ (Delayed gamma ray) ที่มีพลังงานจำเพาะและมีครึ่งชีวิตที่มีค่าจำเพาะ นิวเคลียสกัมมันตรังสีเหล่านี้เป็นไอโซโทปของธาตุที่มีกัมมันตรังสี จึงเรียกว่าไอโซโทปรังสี



ปฏิกิริยาจับนิวตรอน (Neutron capture reaction)

ตัวอย่างเช่น โซเดียม (ไอโซโทป Na-23) จับนิวตรอน ทำให้กลายเป็นนิวเคลียสประกอบ Na-24* ที่ให้รังสีแกมมาพรอมต์พลังงาน 472 keV และกลายเป็นไอโซโทปรังสี Na-24 ที่มีครึ่งชัีวิต 14.96 ชั่วโมง โดยสลายตัวให้รังสีแกมมาพลังงาน 1368 กับ 2754 keV และรังสีบีต้าพลังงาน 1392 keV กลายเป็นไอโซโทปเสถียร Mg-24


รังสีแกมมาที่ปลดปล่อยออกมาทั้งรังสีแกมมาพรอมต์และรังสีแกมมาดีเลย์ มีค่าพลังงานของรังสีที่จำเพาะสำหรับแต่ละธาตุและแต่ละไอโซโทป จึงสามารถใช้ในการจำแนกชนิดของธาตุได้จากพลังงานของรังสี และวิเคราะห์ปริมาณธาตุได้จากความเข้มของรังสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MIT App Inventor ตอนที่ 3

MIT App Inventor ตอนที่ 3 การแชร์ไฟล์แอป เมื่อต้องการแชร์แอปที่ทำขึ้นให้คนอื่นหรือติดตั้งเพื่อให้ทำงานเหมือนแอปที่ดาวน์โหลดจาก Play Sto...